วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2563

ร้านอาหารไทยถาวร เปิดกิจการมากว่า 30 ปี ตั้งแต่เดิมเป็นร้านอาหารอีสานประเภท ลาบ ต้ม ต่อมาได้พัฒนาเป็นแจ่วฮ้อน ปัจจุบันมีทั้งหมด 5 สาขา  ร้านไทยถาวร 4 รับจัดเลี้ยงในสถานที่ มีหัองรับรองแขก VIP ( 30 คน) รับจัดโต๊ะ ไทย-จีน-อีสาน  อาหารขึ้นชื่อของทางร้านคือ แจ่วฮ้อนเนื้อ-หมู  เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 8.00น.-20.00น. ติดต่อโทร. 043-312938 , 081-592-8088 บริหารร้านโดยเฮียดอนและเจ๊ติ๋ง

สถานที่ตั้งของ ร้านอาหารไทยถาวร 4 อยู่ที่ 1069/2  หมู่ 2 (สวนสุขภาพโสกน้ำใส) ถนนสำราญวารี  ตำบลชุมแพ  อำเภอชุมแพ  จังหวัดขอนแก่น



บรรยากาศหน้าร้านสะอาดสวยสดุดตา เน้นโทนสีส้มและสีเขียวอ่อน มองดูแล้วรู้สึกอบอุ่นและเป็นกันเอง ป้ายร้านสีแดงเห็นได้ชัดเจน บริเวณข้างร้านมีที่จอดรถสะดวกสบาย นี่แหล่ะคือร้านที่ท่านต้องแวะเข้ามาแล้วท่านจะประทับใจในรสชาดและการบริการที่เป็นกันเอง






บริเวณในร้านตกแต่งออกแนว Modern สวยงาม ดูแล้วโล่งสบายตา ภายในร้านสะอาด บรรยากาศที่เป็นกันเอง ที่นี่เหมาะที่สุดสำหรับพาครอบครัวมานั่งรับประทานอาหาร หรือจะจัดงานวันเกิด ใช้บริการที่ ร้านไทยถาวร 4 ท่านจะสบายใจและรสชาดอาหารที่แสนจะอร่อย



เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 8.00น.-20.00น. ติดต่อโทร. 043-312938 , 081-592-8088 
บริหารร้านโดย เฮียดอนและเจ๊ติ๋ง


07:24 Kang2021
ร้านอาหารไทยถาวร เปิดกิจการมากว่า 30 ปี ตั้งแต่เดิมเป็นร้านอาหารอีสานประเภท ลาบ ต้ม ต่อมาได้พัฒนาเป็นแจ่วฮ้อน ปัจจุบันมีทั้งหมด 5 สาขา  ร้านไทยถาวร 4 รับจัดเลี้ยงในสถานที่ มีหัองรับรองแขก VIP ( 30 คน) รับจัดโต๊ะ ไทย-จีน-อีสาน  อาหารขึ้นชื่อของทางร้านคือ แจ่วฮ้อนเนื้อ-หมู  เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 8.00น.-20.00น. ติดต่อโทร. 043-312938 , 081-592-8088 บริหารร้านโดยเฮียดอนและเจ๊ติ๋ง

สถานที่ตั้งของ ร้านอาหารไทยถาวร 4 อยู่ที่ 1069/2  หมู่ 2 (สวนสุขภาพโสกน้ำใส) ถนนสำราญวารี  ตำบลชุมแพ  อำเภอชุมแพ  จังหวัดขอนแก่น



บรรยากาศหน้าร้านสะอาดสวยสดุดตา เน้นโทนสีส้มและสีเขียวอ่อน มองดูแล้วรู้สึกอบอุ่นและเป็นกันเอง ป้ายร้านสีแดงเห็นได้ชัดเจน บริเวณข้างร้านมีที่จอดรถสะดวกสบาย นี่แหล่ะคือร้านที่ท่านต้องแวะเข้ามาแล้วท่านจะประทับใจในรสชาดและการบริการที่เป็นกันเอง






บริเวณในร้านตกแต่งออกแนว Modern สวยงาม ดูแล้วโล่งสบายตา ภายในร้านสะอาด บรรยากาศที่เป็นกันเอง ที่นี่เหมาะที่สุดสำหรับพาครอบครัวมานั่งรับประทานอาหาร หรือจะจัดงานวันเกิด ใช้บริการที่ ร้านไทยถาวร 4 ท่านจะสบายใจและรสชาดอาหารที่แสนจะอร่อย



เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 8.00น.-20.00น. ติดต่อโทร. 043-312938 , 081-592-8088 
บริหารร้านโดย เฮียดอนและเจ๊ติ๋ง


วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ประวัติอาหารอีสาน

อีสาน เป็นดินแดนที่แห้งแล้งกันดารที่สุดของประเทศไทย บทเพลงของดินแดนอีสานจึงมักบรรยายถึงความทุกข์ยากแสนเข็ญ นาแล้ง ข้าวกล้าเก็บเกี่ยวได้ไม่พอกิน หลาย ๆ ครอบครัวจึงต้องทิ้งเมีย ทิ้งลูก มุ่งหน้ามาเป็นกรรมกรขายแรงงานในเมือง แม้ว่าอีสานจะอดอยากเพียงไร ชาวบ้านก็ต้องดิ้นรนหาอาหารเพื่อดำรงชีวิตกันต่อไป

อาหารพื้นเมืองของชาวบ้านแถบอีสานจึงมีอาหาร พวกแมลงหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น จิ้งหรีด มดแดง ตั๊กแตน จักจั่น ดักแด้ แมงกุดจี่ แมงกินูน ฯลฯ แม้ว่าหลาย ๆ คนได้ยินแล้วเกิดความรู้สึกแตกต่างกันไป แต่แมลงเหล่านี้คือแหล่งโปรตีนที่หล่อเลี้ยงชีวิตเด็ก ๆ ชาวอีสานเติบโตขึ้นมาได้

อาหารอีสานนอกจากจะมีแมลงแล้ว ยังใช้เนื้อสัตว์ทีหาได้ในท้องถิ่นเป็นส่วนประกอบของอาหาร เช่น ปลา ซึ่งจะรับประทานตั้งแต่เป็นลูกปลา เรียกว่า ปลาลูกครอก (ลูกปลาช่อน) จนปลาตัวโต กบ ก็เช่นเดียวกันรับประทานตั้งแต่ลูกกบซึ่งเรียกว่า ฮวก คือลูกอ๊อด ที่กำลังจะกลายเป็นกบ เริ่มมีขา แต่ก็ยังมีหาง ทางอีสานเรียกว่า ฮวก กุ้งฝอย อึ่งอ่าง ปูนา หอยโข่ง หอยขม สัตว์อื่น ๆ เท่าที่หาได้ เช่น กระต่าย หนูนาแย้ กิ้งก่า งู จนกระทั่งนกต่าง ๆ ไก่ เป็ด หมู เนื้อ บ้าง

คนอีสานจะรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก และโดยทั่วไปจะนึ่งข้าวเหนียวด้วยหวด หวด คือ ภาชนะที่เป็นรูปกรวย ทำด้วยไม่ไผ่ ซึ่งจะต้องใช้คู่กับ หม้อทรงกระบอก คนอีสานจะต้องแช่ข้าวเหนียวดิบกับน้ำพอท่วมไว้ตอนกลางคืน พอรุ่งเช้าจะนำหม้อทรงกระบอกใส่น้ำตั้งไฟ กะให้น้ำอยู่ต่ำกว่าก้นหวด พอน้ำเดือดจะสงข้าวเหนียวที่แช่ไว้ใส่หวด แล้วยกหวดวางบนหม้ออีกที หาฝาหม้อปิดข้าวเหนียวไว้ ไอน้ำที่พุ่งขึ้นมาจะทำให้ข้าวเหนียวสุก และมีกลิ่นหอมของไม้ไผ่ติดมาด้วย พอข้าวเหนียวสุก ใช้ไม้พายกลับข้าวเหนียวข้างล่างขึ้นมาข้างบน แล้วปิดฝาไว้ ข้าวเหนียวก็จะสุกทั่วกัน

17:32 Kang2021
ประวัติอาหารอีสาน

อีสาน เป็นดินแดนที่แห้งแล้งกันดารที่สุดของประเทศไทย บทเพลงของดินแดนอีสานจึงมักบรรยายถึงความทุกข์ยากแสนเข็ญ นาแล้ง ข้าวกล้าเก็บเกี่ยวได้ไม่พอกิน หลาย ๆ ครอบครัวจึงต้องทิ้งเมีย ทิ้งลูก มุ่งหน้ามาเป็นกรรมกรขายแรงงานในเมือง แม้ว่าอีสานจะอดอยากเพียงไร ชาวบ้านก็ต้องดิ้นรนหาอาหารเพื่อดำรงชีวิตกันต่อไป

อาหารพื้นเมืองของชาวบ้านแถบอีสานจึงมีอาหาร พวกแมลงหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น จิ้งหรีด มดแดง ตั๊กแตน จักจั่น ดักแด้ แมงกุดจี่ แมงกินูน ฯลฯ แม้ว่าหลาย ๆ คนได้ยินแล้วเกิดความรู้สึกแตกต่างกันไป แต่แมลงเหล่านี้คือแหล่งโปรตีนที่หล่อเลี้ยงชีวิตเด็ก ๆ ชาวอีสานเติบโตขึ้นมาได้

อาหารอีสานนอกจากจะมีแมลงแล้ว ยังใช้เนื้อสัตว์ทีหาได้ในท้องถิ่นเป็นส่วนประกอบของอาหาร เช่น ปลา ซึ่งจะรับประทานตั้งแต่เป็นลูกปลา เรียกว่า ปลาลูกครอก (ลูกปลาช่อน) จนปลาตัวโต กบ ก็เช่นเดียวกันรับประทานตั้งแต่ลูกกบซึ่งเรียกว่า ฮวก คือลูกอ๊อด ที่กำลังจะกลายเป็นกบ เริ่มมีขา แต่ก็ยังมีหาง ทางอีสานเรียกว่า ฮวก กุ้งฝอย อึ่งอ่าง ปูนา หอยโข่ง หอยขม สัตว์อื่น ๆ เท่าที่หาได้ เช่น กระต่าย หนูนาแย้ กิ้งก่า งู จนกระทั่งนกต่าง ๆ ไก่ เป็ด หมู เนื้อ บ้าง

คนอีสานจะรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก และโดยทั่วไปจะนึ่งข้าวเหนียวด้วยหวด หวด คือ ภาชนะที่เป็นรูปกรวย ทำด้วยไม่ไผ่ ซึ่งจะต้องใช้คู่กับ หม้อทรงกระบอก คนอีสานจะต้องแช่ข้าวเหนียวดิบกับน้ำพอท่วมไว้ตอนกลางคืน พอรุ่งเช้าจะนำหม้อทรงกระบอกใส่น้ำตั้งไฟ กะให้น้ำอยู่ต่ำกว่าก้นหวด พอน้ำเดือดจะสงข้าวเหนียวที่แช่ไว้ใส่หวด แล้วยกหวดวางบนหม้ออีกที หาฝาหม้อปิดข้าวเหนียวไว้ ไอน้ำที่พุ่งขึ้นมาจะทำให้ข้าวเหนียวสุก และมีกลิ่นหอมของไม้ไผ่ติดมาด้วย พอข้าวเหนียวสุก ใช้ไม้พายกลับข้าวเหนียวข้างล่างขึ้นมาข้างบน แล้วปิดฝาไว้ ข้าวเหนียวก็จะสุกทั่วกัน

แจ่วฮ้อนคืออะไร

  • แจ่วฮ้อนลักษณะการรับประทานคล้ายสุกี้ยากี้ บางคนเรียกแจ่วฮ้อนว่า “สุกี้อีสาน” เครื่องปรุงจะมีเนื้อหมู พร้อมเครื่องใน (หรือเนื้อวัวก็ได้) หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ พอดีคำ หมักด้วยซีอิ้วขาว พริกไทยป่น ไข่ไก่ สำหรับน้ำซุปกระดูกหมู จะใส่ตะไคร้ ใบมะกรูด เกลือ น้ำปลา พอเดือดใส่ใบโหระพา เวลารับประทานนำเนื้อหมูที่หมักไว้ ลวกลงในน้ำซุป จากนั้นจิ้มกับน้ำจิ้ม ซึ่งปรุงมาจากพริกป่น ข้าวคั่วป่น น้ำปลา น้ำมะนาว น้ำมะขามเปียก โรยต้นหอมหั่นฝอย สำหรับผักที่ใช้รับประทานคู่กัน ได้แก่ ผักบุ้งจีน ผักกาดขาว ขึ้นฉ่าย อาจมีวุ้นเส้นด้วยก็ได้
    เทคนิคการประกอบอาหาร
    น้ำซุปต้องร้อนตลอดเวลา เนื้อสัตว์จะได้ไม่คาว เวลาลวกเนื้อ ไม่ควรแช่นานเกินไป เพราะจะทำให้เนื้อขาดความหวาน
    ส่วนประกอบอาหาร
    เครื่องปรุง
    1 .หมู (ใช้เนื้อวัวก็ได้) 100 1/2 ถ้วยตวง
    2 .หมู 50 1/3 ถ้วยตวง
    3 .หมู 50 1/3 ถ้วยตวง
    4 .ซีอิ้วขาว 36 3 ช้อนโต๊ะ
    5 .พริกไทยป่น 15 1 ช้อนโต๊ะ
    6 .ไข่ไก่ 100 ? ถ้วยตวง 2 ฟอง
    7 .ตะไคร้ 20 ? ถ้วยตวง 2 ต้น
    8 .ใบมะกรูด 2 1 ช้อนโต๊ะ 5 ใบ
    9 .เกลือป่น 3 1 ช้อนชา
    10 .น้ำปลา 4 1 ช้อนชา
    11 .ใบโหระพา 12 1 ถ้วยตวง
    12 .ผักบุ้ง 110 3 ถ้วยตวง
    13 .ผักกาดขาว 112 2 ถ้วยตวง
    14 .วุ้นเส้น 100 1 ถ้วยตวง
    15 .น้ำซุป 1000 4 ถ้วยตวง
    16 .พริกป่น 6 2 ช้อนชา
    17 .น้ำปลา 15 1 ช้อนโต๊ะ + 1 ช้อนชา
    18 .น้ำมะนาว 12 1 ช้อนโต๊ะ
    19 .น้ำมะขามเปียก 15 1 ช้อนโต๊ะ
    20 .ข้าวคั่วป่นละเอียด 10 2 ช้อนชา
    21 .ต้นหอมซอย 4 1 ช้อนโต๊ะ

    ขั้นตอนการปรุงอาหาร
    ขั้นตอนที่ 1
    หั่นเนื้อหมู และเครื่องใน เป็นชิ้นบาง ๆ หมักกับซีอิ้วขาว พริกไทยป่น ไข่ไก่

ขั้นตอนที่ 2

ล้างผักให้สะอาด เด็ดเป็นชิ้นพอคำ



ขั้นตอนที่ 3

ส่วนวุ้นเส้นแช่น้ำแล้วตัดเป็นท่อน



ขั้นตอนที่ 4

นำหม้อใส่น้ำซุป ตะไคร้ ใบมะกรูด เกลือ น้ำปลา ตั้งไฟพอเดือด ใส่ใบโหระพา เวลารับประทาน นำเนื้อหมูและเครื่องในที่หมักไว้ ผัก และวุ้นเส้นลงลวกในน้ำซุป จิ้มน้ำจิ้ม วิธีทำน้ำจิ้ม ผสมเครื่องปรุงน้ำจิ้มทั้งหมด คนให้เข้ากัน







16:07 Kang2021
แจ่วฮ้อนคืออะไร

  • แจ่วฮ้อนลักษณะการรับประทานคล้ายสุกี้ยากี้ บางคนเรียกแจ่วฮ้อนว่า “สุกี้อีสาน” เครื่องปรุงจะมีเนื้อหมู พร้อมเครื่องใน (หรือเนื้อวัวก็ได้) หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ พอดีคำ หมักด้วยซีอิ้วขาว พริกไทยป่น ไข่ไก่ สำหรับน้ำซุปกระดูกหมู จะใส่ตะไคร้ ใบมะกรูด เกลือ น้ำปลา พอเดือดใส่ใบโหระพา เวลารับประทานนำเนื้อหมูที่หมักไว้ ลวกลงในน้ำซุป จากนั้นจิ้มกับน้ำจิ้ม ซึ่งปรุงมาจากพริกป่น ข้าวคั่วป่น น้ำปลา น้ำมะนาว น้ำมะขามเปียก โรยต้นหอมหั่นฝอย สำหรับผักที่ใช้รับประทานคู่กัน ได้แก่ ผักบุ้งจีน ผักกาดขาว ขึ้นฉ่าย อาจมีวุ้นเส้นด้วยก็ได้
    เทคนิคการประกอบอาหาร
    น้ำซุปต้องร้อนตลอดเวลา เนื้อสัตว์จะได้ไม่คาว เวลาลวกเนื้อ ไม่ควรแช่นานเกินไป เพราะจะทำให้เนื้อขาดความหวาน
    ส่วนประกอบอาหาร
    เครื่องปรุง
    1 .หมู (ใช้เนื้อวัวก็ได้) 100 1/2 ถ้วยตวง
    2 .หมู 50 1/3 ถ้วยตวง
    3 .หมู 50 1/3 ถ้วยตวง
    4 .ซีอิ้วขาว 36 3 ช้อนโต๊ะ
    5 .พริกไทยป่น 15 1 ช้อนโต๊ะ
    6 .ไข่ไก่ 100 ? ถ้วยตวง 2 ฟอง
    7 .ตะไคร้ 20 ? ถ้วยตวง 2 ต้น
    8 .ใบมะกรูด 2 1 ช้อนโต๊ะ 5 ใบ
    9 .เกลือป่น 3 1 ช้อนชา
    10 .น้ำปลา 4 1 ช้อนชา
    11 .ใบโหระพา 12 1 ถ้วยตวง
    12 .ผักบุ้ง 110 3 ถ้วยตวง
    13 .ผักกาดขาว 112 2 ถ้วยตวง
    14 .วุ้นเส้น 100 1 ถ้วยตวง
    15 .น้ำซุป 1000 4 ถ้วยตวง
    16 .พริกป่น 6 2 ช้อนชา
    17 .น้ำปลา 15 1 ช้อนโต๊ะ + 1 ช้อนชา
    18 .น้ำมะนาว 12 1 ช้อนโต๊ะ
    19 .น้ำมะขามเปียก 15 1 ช้อนโต๊ะ
    20 .ข้าวคั่วป่นละเอียด 10 2 ช้อนชา
    21 .ต้นหอมซอย 4 1 ช้อนโต๊ะ

    ขั้นตอนการปรุงอาหาร
    ขั้นตอนที่ 1
    หั่นเนื้อหมู และเครื่องใน เป็นชิ้นบาง ๆ หมักกับซีอิ้วขาว พริกไทยป่น ไข่ไก่

ขั้นตอนที่ 2

ล้างผักให้สะอาด เด็ดเป็นชิ้นพอคำ



ขั้นตอนที่ 3

ส่วนวุ้นเส้นแช่น้ำแล้วตัดเป็นท่อน



ขั้นตอนที่ 4

นำหม้อใส่น้ำซุป ตะไคร้ ใบมะกรูด เกลือ น้ำปลา ตั้งไฟพอเดือด ใส่ใบโหระพา เวลารับประทาน นำเนื้อหมูและเครื่องในที่หมักไว้ ผัก และวุ้นเส้นลงลวกในน้ำซุป จิ้มน้ำจิ้ม วิธีทำน้ำจิ้ม ผสมเครื่องปรุงน้ำจิ้มทั้งหมด คนให้เข้ากัน







อาหารพื้นบ้านอีสาน

คนภาคอีสานเป็นผู้ที่กินอาหารได้ง่าย มักรับประทานได้ทุกอย่าง เนื่องจากภาคอีสาน มีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่แห้งแล้ง เป็นที่ราบสูง มีแม่น้ำสายใหญ่ และมีเทือกเขาสูงในบางแห่ง ขาดความอุดมสมบูรณ์กว่าภาคอื่นๆ เพื่อการดำรงอยู่ของชีวิตในการปรับตัวให้สอดคล้องกับ ธรรมชาติ คนภาคอีสานจึงรู้จักแสวงหาสิ่งต่างๆ ที่รับประทานได้ในท้องถิ่น นำมาดัดแปลงรับประทาน หรือประกอบเป็นอาหารทั้งพืชผักจากป่าธรรมชาติ ปลาจากลำน้ำ และแมลงต่างๆ หลายชนิด

อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนมากจะมีรสเผ็ด เค็ม เปรี้ยว คนอีสานจะรับประทานข้าวเหนียว กับอาหารพื้นบ้านที่มีรสจัดและน้ำน้อย วิธีปรุงอาหารพื้นบ้านอีสานมีหลายวิธี คือ ลาบ ก้อย จํ้า จุ๊ หมก อู่ เอ๊าะ อ่อม แกง ต้ม ซุป เผา กี่ ปิง ย่าง รม ดอง คั่ว ลวก นึ่ง ตำ แจ่ว ป่น เมี่ยง ดังนั้นตำรับ อาหารพื้นบ้านของภาคอีสาน จึงมีควาหลากหลายและมีรูปแบบที่น่ารับประทานมาก ในบรรดาตำรับอาหารภาคอีสานนั้น สิ่งที่จะขาดไม่ได้คือ น้ำปลาร้า จัดว่าเป็นเครื่องปรุงที่ช่วยเพิ่มรสชาติ ให้อาหารน่ารับประทานยิ่งขึ้น

หากจะกล่าวถึงอาหารการกินของคนอีสาน หลายคนคงรู้จักคุ้นเคยและได้ลิ้มชิมรส กันมาบ้างแล้ว ชาวอีสานมีวถีการดำเนินชีวิต ที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับการที่รับประทานอาหารอย่างง่ายๆ มักจะรับประทานได้ทุกอย่าง เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของภาคอีสาน ชาวอีสานจึงรู้จักแสวงหาสิ่งต่างๆ ที่สามารถรับประทานได้ในท้องถิ่น มาดัดแปลงเป็นอาหารรับประทาน

อาหารอีสานเป็นอาหารที่มีความแตกต่างจากอาหารของภาคอื่นๆ และเข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายของชาวอีสาน อาหารของชาวอีสานในแต่ละมื้อจะเป็นอาหารง่ายๆเพียง 2-3 จาน ซึ่งทุกมื้อจะต้องมีผักเป็นส่วนประกอบหลักพวกเนื้อส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อปลาหรือเนื้อวัวเนื้อควาย ความพึงพอใจในรสชาติอาหารของชาวอีสานนั้นไม่มีตายตัวแล้วแต่ความชอบของบุคคล แต่อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนใหญ่แล้วจะออกรสชาติไปทางเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว

เครื่องปรุงอาหารอีสานที่สำคัญและแทบขาดไม่ได้เลย คือ ปลาร้า ซึ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาด้านการถนอมอาหารของบรรพบุรุษของชาวอีสาน ถ้าจะกล่าวว่าชาวอีสานทุกครัวเรือนต้องมีปลาร้า ไว้ประจำครัวก็คงไม่ผิดนัก ปลาร้าใช้เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารได้ทุกประเภท เหมือนกับที่ชาวไทยภาคกลางใช้น้ำปลา แจ่วบอง  ปลาร้าจึงมีบทบาทต่อการประกอบอาหาร เกือบทุกตำรับของอาหารอีสานก็ว่าได้ ซึ่งทำให้กลายเป็นสัญลักษณ์และเป็นอาหารเด่นที่ทุกคนต้องรู้จัก



15:45 Kang2021
อาหารพื้นบ้านอีสาน

คนภาคอีสานเป็นผู้ที่กินอาหารได้ง่าย มักรับประทานได้ทุกอย่าง เนื่องจากภาคอีสาน มีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่แห้งแล้ง เป็นที่ราบสูง มีแม่น้ำสายใหญ่ และมีเทือกเขาสูงในบางแห่ง ขาดความอุดมสมบูรณ์กว่าภาคอื่นๆ เพื่อการดำรงอยู่ของชีวิตในการปรับตัวให้สอดคล้องกับ ธรรมชาติ คนภาคอีสานจึงรู้จักแสวงหาสิ่งต่างๆ ที่รับประทานได้ในท้องถิ่น นำมาดัดแปลงรับประทาน หรือประกอบเป็นอาหารทั้งพืชผักจากป่าธรรมชาติ ปลาจากลำน้ำ และแมลงต่างๆ หลายชนิด

อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนมากจะมีรสเผ็ด เค็ม เปรี้ยว คนอีสานจะรับประทานข้าวเหนียว กับอาหารพื้นบ้านที่มีรสจัดและน้ำน้อย วิธีปรุงอาหารพื้นบ้านอีสานมีหลายวิธี คือ ลาบ ก้อย จํ้า จุ๊ หมก อู่ เอ๊าะ อ่อม แกง ต้ม ซุป เผา กี่ ปิง ย่าง รม ดอง คั่ว ลวก นึ่ง ตำ แจ่ว ป่น เมี่ยง ดังนั้นตำรับ อาหารพื้นบ้านของภาคอีสาน จึงมีควาหลากหลายและมีรูปแบบที่น่ารับประทานมาก ในบรรดาตำรับอาหารภาคอีสานนั้น สิ่งที่จะขาดไม่ได้คือ น้ำปลาร้า จัดว่าเป็นเครื่องปรุงที่ช่วยเพิ่มรสชาติ ให้อาหารน่ารับประทานยิ่งขึ้น

หากจะกล่าวถึงอาหารการกินของคนอีสาน หลายคนคงรู้จักคุ้นเคยและได้ลิ้มชิมรส กันมาบ้างแล้ว ชาวอีสานมีวถีการดำเนินชีวิต ที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับการที่รับประทานอาหารอย่างง่ายๆ มักจะรับประทานได้ทุกอย่าง เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของภาคอีสาน ชาวอีสานจึงรู้จักแสวงหาสิ่งต่างๆ ที่สามารถรับประทานได้ในท้องถิ่น มาดัดแปลงเป็นอาหารรับประทาน

อาหารอีสานเป็นอาหารที่มีความแตกต่างจากอาหารของภาคอื่นๆ และเข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายของชาวอีสาน อาหารของชาวอีสานในแต่ละมื้อจะเป็นอาหารง่ายๆเพียง 2-3 จาน ซึ่งทุกมื้อจะต้องมีผักเป็นส่วนประกอบหลักพวกเนื้อส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อปลาหรือเนื้อวัวเนื้อควาย ความพึงพอใจในรสชาติอาหารของชาวอีสานนั้นไม่มีตายตัวแล้วแต่ความชอบของบุคคล แต่อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนใหญ่แล้วจะออกรสชาติไปทางเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว

เครื่องปรุงอาหารอีสานที่สำคัญและแทบขาดไม่ได้เลย คือ ปลาร้า ซึ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาด้านการถนอมอาหารของบรรพบุรุษของชาวอีสาน ถ้าจะกล่าวว่าชาวอีสานทุกครัวเรือนต้องมีปลาร้า ไว้ประจำครัวก็คงไม่ผิดนัก ปลาร้าใช้เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารได้ทุกประเภท เหมือนกับที่ชาวไทยภาคกลางใช้น้ำปลา แจ่วบอง  ปลาร้าจึงมีบทบาทต่อการประกอบอาหาร เกือบทุกตำรับของอาหารอีสานก็ว่าได้ ซึ่งทำให้กลายเป็นสัญลักษณ์และเป็นอาหารเด่นที่ทุกคนต้องรู้จัก



ทำไมถึงเรียกโต๊ะจีน 


ทำไมต้องเรียกโต๊ะจีน ทำไมไม่เรียกว่ากินอาหารจีน ซึ่งผมว่าการเรียกโต๊ะจีนนั้นเพื่อระบุวิธีการกินแบบจีนให้ชัดเจนขึ้น ปกติคนไทยโบราณนั้น เวลากินข้าวจะนั่งกินกับพื้น ส่วนคนจีนจะนั่งกินบนเก้าอี้ เพราะวัฒนธรรมการนั่งเก้าอี้โบร่ำโบราณก็เป็นของจีน แต่เก้าอี้ของจีนก็ไม่ได้หมายถึงเก้าอี้สูงๆ อย่างเดียว เก้าอี้เตี้ยๆ ก็มี ซึ่งการกินบนเก้าอี้เตี้ยๆ นั้นมักจะเห็นตามชนบทของจีน หรือสมัยแรกๆ ที่คนจีนอยู่เมืองไทย หรือแม้ชาวเขา ที่เป็นชนกลุ่มน้อยที่มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกับจีน เช่น ชาวม้ง ชาวเย้า ลีซอ นั่งเก้าอี้เตี้ยๆ กินข้าวทั้งสิ้น

นั่นเป็นเรื่องของเก้าอี้ ส่วนการกินล้อมกันเป็นวง กินพร้อมๆ กัน กินกับข้าวจีนหลายอย่าง อย่างน้อย 8-10 อย่าง ส่วนเก้าอี้ก็ให้เป็นทรงสูง ก็เลยเรียกการกินแบบนี้ว่า โต๊ะจีน เป็นการทำความเข้าใจให้ตรงกัน
ของการกินแบบนี้คือ โต๊ะจีน

วิธีการระบุให้ชัดเจนนั้นก็เหมือนผัดไทย ซึ่งที่จริงก็มาจากที่เครื่องปรุงเครื่องประกอบทุกอย่างเป็นของจีนทั้งสิ้น ตั้งแต่กระทะ เส้นก๋วยเตี๋ยว ถั่วงอก เต้าฮู้ กุ้งแห้ง ผักขึ้นฉ่าย ถั่วลิสงบด แม้กระทั่งไข่เป็ด น้ำมันหมู ยังเป็นของคนจีนเลี้ยง แต่เมื่อคิดเอามาผัดเป็นวิธีใหม่ ซึ่งต่างจากก๋วยเตี๋ยวผัดแบบจีน ก็เรียกเสียว่าผัดแบบไทย หนักๆ เข้าตัดคำว่าแบบออกไป ก็เหลือแค่คำว่าผัดไทย

การกินโต๊ะจีน ที่ได้ยินครั้งแรกก็มาจากบันทึกในหนังสือของ ขุนวิจิตรมาตรา ชื่อ 80 ปีของข้าพเจ้า ที่พูดถึงภัตตาคารจีนที่เจริญกรุง ซึ่งมีไม่กี่แห่ง มีภัตตาคารบันไดทอง ที่คนนิยมไปกินโต๊ะจีน ซึ่งเมื่อเทียบที่ท่านขุนฯ บันทึกเมื่อครั้งนั้น จนมาถึงปัจจุบัน ก็ร่วม 100 ปีแล้ว

การกินโต๊ะจีนนั้นถือว่าทันสมัย ถูกใจชาวบ้านมากที่สุด งานแต่งงานของคนกรุงเทพฯ ที่หรูหราที่สุดในสมัยก่อนต้องเลี้ยงโต๊ะจีน และส่วนใหญ่เป็นภัตตาคารแถบเจริญกรุงและเยาวราชที่ดังที่สุดก็มี ห้อยเทียนเหลา และภัตตาคารไล้กี่ (เสริมบทความ SEO.โต๊ะจีนดำรงค์ชัย นครปฐม)

โต๊ะจีน ออกไปสู่ความนิยมตามชนบท เมื่อก่อนนั้นคนไทยเมื่อเวลามีงานมงคล เช่น งานแต่ง งานบวช ขึ้นบ้านใหม่ จะต้องมีการช่วยกันลงมือลงแรงตั้งโรงครัว เลี้ยงแขกกันยังไงเจ้าภาพก็ต้องจ่ายเงินจ่ายทองอยู่แล้วแต่อาจจะเหนื่อย แต่เมื่อมีการบริการรับจ้างจัดโต๊ะจีนขึ้นมา ก็มีเจ้าภาพใช้บริการโต๊ะจีน แขกก็ถูกใจ เพราะกินอร่อย กินอิ่ม หนีจากความจำเจจากอาหารไทย การกินโต๊ะจีนจึงนิยมไปทั่วทุกหัวระแหง สมัยนี้นักการเมืองเลี้ยงหัวคะแนนถ้าขืนเลี้ยงขนมจีนแกงเขียวหวานไก่ ล้มวัวควายผัดเผ็ด รับรองสอบตกแน่ ต้องเลี้ยงโต๊ะจีนอย่างเดียว แม้กระทั่งเลี้ยงพระเพล ให้พระฉันโต๊ะจีน ท่านยังอนุโมทนาเจ้าภาพทำดี รู้ใจอาตมา



คนทำโต๊ะจีนก็ชอบครับ ไม่ใช่เพราะคนนิยมเพิ่มขึ้นอย่างเดียว การทำโต๊ะจีนซึ่งต้องมีฝีมือ แต่ถ้าเมื่อมีฝีมือแล้ว ทำไมไม่ไปทำร้านอาหาร เมื่อเปรียบเทียบกับทำร้านอาหารแล้ว ทำโต๊ะจีนสบายกว่า ได้กำไรมากกว่า แต่มีข้อแม้ว่าต้องมีงานเข้าสม่ำเสมอเท่านั้น

การทำโต๊ะจีนลงทุนครั้งแรกเหมือนกัน ต้องมีอุปกรณ์เครื่องครัว โต๊ะ เก้าอี้ ผ้าปูโต๊ะ จานชาม ช้อน ส้อม ตะเกียบ แก้ว แต่ไม่ต้องลงทุนทำร้าน ตกแต่งร้าน ไม่ต้องทำห้องน้ำ ห้องส้วม ค่าไฟฟ้า น้ำประปา ก็ไม่ต้องเสีย ไม่ต้องจ้างคนงาน แล้วไม่ต้องกักตุนของสด ของแห้ง

คนทำโต๊ะจีนนั้น เมื่อมีงานเข้า ก็มีราคาให้ลูกค้าเลือกว่าจะเอาราคาเท่าไหร่ เขาคำนวณถูกว่ากี่โต๊ะ ต้องใช้อาหารสด อาหารแห้งเท่าไหร่ ก็ซื้อมาเท่านั้น สำรองเผื่อเหลือ เผื่อขาด นิดหน่อย คนทำโต๊ะจีนนั้นส่วนใหญ่ทำอาหารเป็น และเป็นตัวหลัก แต่ถ้าเป็นงานใหญ่ต้องใช้คนเพิ่ม ก็รู้ว่าต้องใช้พ่อครัวกี่คน ใช้ลูกมือที่เป็นคนเสิร์ฟกี่คน ก็ไปตามมาทำ พวกนี้เขามีคอนเนกชันอยู่ในมืออยู่แล้ว ใครมีฝีมือค่าแรงเท่าไหร่ คนนั้นติดงานอื่น เขาก็มีคนอื่นเผื่อเรียกสำรองมาได้อีก

พ่อครัวก็ดี คนเสิร์ฟก็ดี ชอบเป็นมือปืนรับจ้าง เสร็จงานแล้วก็เลิกกัน มีงานบ่อยๆ ก็ดี ไม่อยากทำจะไปเที่ยว หรือจะนอนใช้เงินก็ได้

คนทำโต๊ะจีนนั้น มีวิธีหาลูกค้าโดยไม่ต้องตั้งงบโฆษณา ง่ายนิดเดียว ทุกโต๊ะต้องมีแก้วใส่นามบัตรไว้ ใครจะหยิบไม่หยิบไม่สนใจ แต่เขาเชื่อว่า คนกินโต๊ะจีน 10 คน ต้องถูกใจบ้าง เอาแค่อย่างต่ำสุดคนเดียวก็พอ คนนี้แหละเอานามบัตรไป ครั้งหน้าคนนี้จะจัดโต๊ะจีน ต้องเรียกเขาแน่ แล้วเวลาจัดก็ต้องมีคนถูกใจอีก ก็เป็นอย่างนั้นต่อไปเรื่อยๆ

ตอนนี้การจัดโต๊ะก็ต้องสำคัญหน่อย เมื่อก่อนผ้าปูโต๊ะเป็นลายดอกโบตั๋น ตอนนี้ต้องมีผ้าปูโต๊ะ 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นสีแดง สีชมพู หรือสีอะไรก็ได้ยกเว้นสีดำ ชั้นบนเป็นผ้าลูกไม้ ส่วนเก้าอี้ ถ้าโต๊ะราคาถูก เก้าอี้ก็เป็นพลาสติก ถ้าแพงต้องเป็นเก้าอี้เหล็กมีผ้าขาวหุ้มเก้าอี้ โต๊ะประธานจัดงานนั่งหรือโต๊ะแขกสำคัญนั่งผูกโบสีทอง กระดาษเช็ดปากต้องสีชมพูอย่างเดียว ที่กระดาษเช็ดปากในท้องตลาดที่ไม่มีสีเหลือง สีฟ้า สีเขียว มีแต่สีชมพูนี่ก็เพราะอิทธิพลของโต๊ะจีนโดยแท้

ฉะนั้นโต๊ะจีนในสมัยนี้จึงมีเยอะแยะ และสมัยนี้อีกเช่นกันมีโต๊ะจีนส่งถึงบ้าน โต๊ะเดียวก็ส่ง ให้คนกินที่บ้านตั้งโต๊ะล้อมวงกินกันเอง คนจัดสบายขึ้นไปอีกไม่ต้องล้างชาม

ทั้งหมดนี่แหละโต๊ะจีน อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่ต้นครับ นี่คือทำไมเขาถึงเรียกว่าโต๊ะจีน


15:21 Kang2021
ทำไมถึงเรียกโต๊ะจีน 


ทำไมต้องเรียกโต๊ะจีน ทำไมไม่เรียกว่ากินอาหารจีน ซึ่งผมว่าการเรียกโต๊ะจีนนั้นเพื่อระบุวิธีการกินแบบจีนให้ชัดเจนขึ้น ปกติคนไทยโบราณนั้น เวลากินข้าวจะนั่งกินกับพื้น ส่วนคนจีนจะนั่งกินบนเก้าอี้ เพราะวัฒนธรรมการนั่งเก้าอี้โบร่ำโบราณก็เป็นของจีน แต่เก้าอี้ของจีนก็ไม่ได้หมายถึงเก้าอี้สูงๆ อย่างเดียว เก้าอี้เตี้ยๆ ก็มี ซึ่งการกินบนเก้าอี้เตี้ยๆ นั้นมักจะเห็นตามชนบทของจีน หรือสมัยแรกๆ ที่คนจีนอยู่เมืองไทย หรือแม้ชาวเขา ที่เป็นชนกลุ่มน้อยที่มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกับจีน เช่น ชาวม้ง ชาวเย้า ลีซอ นั่งเก้าอี้เตี้ยๆ กินข้าวทั้งสิ้น

นั่นเป็นเรื่องของเก้าอี้ ส่วนการกินล้อมกันเป็นวง กินพร้อมๆ กัน กินกับข้าวจีนหลายอย่าง อย่างน้อย 8-10 อย่าง ส่วนเก้าอี้ก็ให้เป็นทรงสูง ก็เลยเรียกการกินแบบนี้ว่า โต๊ะจีน เป็นการทำความเข้าใจให้ตรงกัน
ของการกินแบบนี้คือ โต๊ะจีน

วิธีการระบุให้ชัดเจนนั้นก็เหมือนผัดไทย ซึ่งที่จริงก็มาจากที่เครื่องปรุงเครื่องประกอบทุกอย่างเป็นของจีนทั้งสิ้น ตั้งแต่กระทะ เส้นก๋วยเตี๋ยว ถั่วงอก เต้าฮู้ กุ้งแห้ง ผักขึ้นฉ่าย ถั่วลิสงบด แม้กระทั่งไข่เป็ด น้ำมันหมู ยังเป็นของคนจีนเลี้ยง แต่เมื่อคิดเอามาผัดเป็นวิธีใหม่ ซึ่งต่างจากก๋วยเตี๋ยวผัดแบบจีน ก็เรียกเสียว่าผัดแบบไทย หนักๆ เข้าตัดคำว่าแบบออกไป ก็เหลือแค่คำว่าผัดไทย

การกินโต๊ะจีน ที่ได้ยินครั้งแรกก็มาจากบันทึกในหนังสือของ ขุนวิจิตรมาตรา ชื่อ 80 ปีของข้าพเจ้า ที่พูดถึงภัตตาคารจีนที่เจริญกรุง ซึ่งมีไม่กี่แห่ง มีภัตตาคารบันไดทอง ที่คนนิยมไปกินโต๊ะจีน ซึ่งเมื่อเทียบที่ท่านขุนฯ บันทึกเมื่อครั้งนั้น จนมาถึงปัจจุบัน ก็ร่วม 100 ปีแล้ว

การกินโต๊ะจีนนั้นถือว่าทันสมัย ถูกใจชาวบ้านมากที่สุด งานแต่งงานของคนกรุงเทพฯ ที่หรูหราที่สุดในสมัยก่อนต้องเลี้ยงโต๊ะจีน และส่วนใหญ่เป็นภัตตาคารแถบเจริญกรุงและเยาวราชที่ดังที่สุดก็มี ห้อยเทียนเหลา และภัตตาคารไล้กี่ (เสริมบทความ SEO.โต๊ะจีนดำรงค์ชัย นครปฐม)

โต๊ะจีน ออกไปสู่ความนิยมตามชนบท เมื่อก่อนนั้นคนไทยเมื่อเวลามีงานมงคล เช่น งานแต่ง งานบวช ขึ้นบ้านใหม่ จะต้องมีการช่วยกันลงมือลงแรงตั้งโรงครัว เลี้ยงแขกกันยังไงเจ้าภาพก็ต้องจ่ายเงินจ่ายทองอยู่แล้วแต่อาจจะเหนื่อย แต่เมื่อมีการบริการรับจ้างจัดโต๊ะจีนขึ้นมา ก็มีเจ้าภาพใช้บริการโต๊ะจีน แขกก็ถูกใจ เพราะกินอร่อย กินอิ่ม หนีจากความจำเจจากอาหารไทย การกินโต๊ะจีนจึงนิยมไปทั่วทุกหัวระแหง สมัยนี้นักการเมืองเลี้ยงหัวคะแนนถ้าขืนเลี้ยงขนมจีนแกงเขียวหวานไก่ ล้มวัวควายผัดเผ็ด รับรองสอบตกแน่ ต้องเลี้ยงโต๊ะจีนอย่างเดียว แม้กระทั่งเลี้ยงพระเพล ให้พระฉันโต๊ะจีน ท่านยังอนุโมทนาเจ้าภาพทำดี รู้ใจอาตมา



คนทำโต๊ะจีนก็ชอบครับ ไม่ใช่เพราะคนนิยมเพิ่มขึ้นอย่างเดียว การทำโต๊ะจีนซึ่งต้องมีฝีมือ แต่ถ้าเมื่อมีฝีมือแล้ว ทำไมไม่ไปทำร้านอาหาร เมื่อเปรียบเทียบกับทำร้านอาหารแล้ว ทำโต๊ะจีนสบายกว่า ได้กำไรมากกว่า แต่มีข้อแม้ว่าต้องมีงานเข้าสม่ำเสมอเท่านั้น

การทำโต๊ะจีนลงทุนครั้งแรกเหมือนกัน ต้องมีอุปกรณ์เครื่องครัว โต๊ะ เก้าอี้ ผ้าปูโต๊ะ จานชาม ช้อน ส้อม ตะเกียบ แก้ว แต่ไม่ต้องลงทุนทำร้าน ตกแต่งร้าน ไม่ต้องทำห้องน้ำ ห้องส้วม ค่าไฟฟ้า น้ำประปา ก็ไม่ต้องเสีย ไม่ต้องจ้างคนงาน แล้วไม่ต้องกักตุนของสด ของแห้ง

คนทำโต๊ะจีนนั้น เมื่อมีงานเข้า ก็มีราคาให้ลูกค้าเลือกว่าจะเอาราคาเท่าไหร่ เขาคำนวณถูกว่ากี่โต๊ะ ต้องใช้อาหารสด อาหารแห้งเท่าไหร่ ก็ซื้อมาเท่านั้น สำรองเผื่อเหลือ เผื่อขาด นิดหน่อย คนทำโต๊ะจีนนั้นส่วนใหญ่ทำอาหารเป็น และเป็นตัวหลัก แต่ถ้าเป็นงานใหญ่ต้องใช้คนเพิ่ม ก็รู้ว่าต้องใช้พ่อครัวกี่คน ใช้ลูกมือที่เป็นคนเสิร์ฟกี่คน ก็ไปตามมาทำ พวกนี้เขามีคอนเนกชันอยู่ในมืออยู่แล้ว ใครมีฝีมือค่าแรงเท่าไหร่ คนนั้นติดงานอื่น เขาก็มีคนอื่นเผื่อเรียกสำรองมาได้อีก

พ่อครัวก็ดี คนเสิร์ฟก็ดี ชอบเป็นมือปืนรับจ้าง เสร็จงานแล้วก็เลิกกัน มีงานบ่อยๆ ก็ดี ไม่อยากทำจะไปเที่ยว หรือจะนอนใช้เงินก็ได้

คนทำโต๊ะจีนนั้น มีวิธีหาลูกค้าโดยไม่ต้องตั้งงบโฆษณา ง่ายนิดเดียว ทุกโต๊ะต้องมีแก้วใส่นามบัตรไว้ ใครจะหยิบไม่หยิบไม่สนใจ แต่เขาเชื่อว่า คนกินโต๊ะจีน 10 คน ต้องถูกใจบ้าง เอาแค่อย่างต่ำสุดคนเดียวก็พอ คนนี้แหละเอานามบัตรไป ครั้งหน้าคนนี้จะจัดโต๊ะจีน ต้องเรียกเขาแน่ แล้วเวลาจัดก็ต้องมีคนถูกใจอีก ก็เป็นอย่างนั้นต่อไปเรื่อยๆ

ตอนนี้การจัดโต๊ะก็ต้องสำคัญหน่อย เมื่อก่อนผ้าปูโต๊ะเป็นลายดอกโบตั๋น ตอนนี้ต้องมีผ้าปูโต๊ะ 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นสีแดง สีชมพู หรือสีอะไรก็ได้ยกเว้นสีดำ ชั้นบนเป็นผ้าลูกไม้ ส่วนเก้าอี้ ถ้าโต๊ะราคาถูก เก้าอี้ก็เป็นพลาสติก ถ้าแพงต้องเป็นเก้าอี้เหล็กมีผ้าขาวหุ้มเก้าอี้ โต๊ะประธานจัดงานนั่งหรือโต๊ะแขกสำคัญนั่งผูกโบสีทอง กระดาษเช็ดปากต้องสีชมพูอย่างเดียว ที่กระดาษเช็ดปากในท้องตลาดที่ไม่มีสีเหลือง สีฟ้า สีเขียว มีแต่สีชมพูนี่ก็เพราะอิทธิพลของโต๊ะจีนโดยแท้

ฉะนั้นโต๊ะจีนในสมัยนี้จึงมีเยอะแยะ และสมัยนี้อีกเช่นกันมีโต๊ะจีนส่งถึงบ้าน โต๊ะเดียวก็ส่ง ให้คนกินที่บ้านตั้งโต๊ะล้อมวงกินกันเอง คนจัดสบายขึ้นไปอีกไม่ต้องล้างชาม

ทั้งหมดนี่แหละโต๊ะจีน อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่ต้นครับ นี่คือทำไมเขาถึงเรียกว่าโต๊ะจีน